หัวข้อ   “ บุหรี่กับคนไทย ในวันงดสูบบุหรี่โลก ”
 
                 เนื่องด้วยวันที่ 31 พฤษภาคมที่จะถึงนี้ เป็นวันงดสูบบุหรี่โลก ศูนย์วิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นจากผู้ที่
สูบบุหรี่และผู้ที่มีคนในครอบครัวหรือคนที่รัก สูบบุหรี่ จำนวน 1,076 คน ในพื้นที่
กรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่า
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 ผู้ที่สูบบุหรี่ร้อยละ 85.3 ระบุว่าเคยคิดที่จะเลิกสูบบุหรี่ ในจำนวนนี้
ร้อยละ 53.8 ระบุว่า คิดจะเลิกสูบเพื่อตัวเอง และร้อยละ 31.5 ระบุว่า คิดจะเลิกสูบ
เพื่อครอบครัวและคนที่รัก ในขณะที่ ร้อยละ 14.7 ระบุว่าไม่เคยคิดจะเลิกสูบ สำหรับ
เหตุผลที่ปัจจุบันยังไม่เลิกสูบบุหรี่ คือ ยังทำใจเลิกสูบบุหรี่ไม่ได้ ใจไม่แข็งพอ
(ร้อยละ 30.3) รองลงมาคิดว่า เป็นเพราะความเครียดกับเรื่องต่างๆ (ร้อยละ 17.0)
และ เป็นความเคยชิน (ร้อยละ 7.1)
 
                 เมื่อถามว่าเวลาสูบบุหรี่ เคยคำนึงถึงคนรอบข้างที่ไม่ใช่คนในครอบครัว
หรือคนที่รักบ้างหรือไม่ พบว่า ผู้ที่สูบบุหรี่ ร้อยละ 85.2 คำนึงถึงและจะไม่สูบในที่
ที่มีคนอยู่ ร้อยละ 6.3 คำนึงถึงแต่เชื่อว่าเขาจะไม่ว่าและเดินหนีออกไปเอง ในขณะที่
ร้อยละ 8.5 ไม่คำนึงถึงและให้เหตุผลว่าถ้าเขาไม่ชอบก็ควรเดินหนีไปเอง
 
                 ทั้งนี้เมื่อถามเฉพาะผู้ที่มีคนในครอบครัวหรือมีคนที่รักสูบบุหรี่ว่าเคยบอกให้เลิกสูบบุหรี่หรือไม่ กลุ่มตัวอย่าง
ส่วนใหญ่ ร้อยละ 83.0 ระบุว่า เคยบอกให้เลิกสูบ ในจำนวนนี้ร้อยละ 53.3 ต้องการให้เลิกสูบเพื่อครอบครัวและคนที่รัก และ
ร้อยละ 29.7 ต้องการให้เลิกสูบบุหรี่เพื่อตัวเอง ในขณะที่ ร้อยละ 17.0 ไม่เคยบอกให้เลิกสูบ โดยให้เหตุผลว่า บอกไปแล้ว
ก็ไม่ยอมเชื่อ มันเป็นเรื่องส่วนตัว ไม่กล้าบอก โตแล้วคิดเองได้ ฯลฯ ส่วนวิธีที่ปฏิบัติเมื่อต้องอยู่ใกล้ๆ คนที่กำลังสูบบุหรี่
ร้อยละ 60.2 จะเดินหนีไปเอง รองลงมาร้อยละ 9.4 จะพยายามอยู่ห่างๆ และร้อยละ 9.2 จะเอาผ้าปิดจมูก กลั้นหายใจ
 
                 สำหรับความคิดเห็นต่อ นโยบายรณรงค์ให้ลดหรือเลิกสูบบุหรี่ ของภาครัฐไม่ว่าจะเป็น นโยบายการใช้ภาพ
คำเตือนหน้าซองรณรงค์ประชาสัมพันธ์/การใช้ข้อความรณรงค์โฆษณา จากดารานักร้องให้ “ลด ละ เลิก” สูบบุหรี่/หรือแม้
กระทั่งการขึ้นภาษีบุหรี่อันจะทำให้ราคาบุหรี่เพิ่มสูงขึ้นนั้น พบว่า มีกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 19.2 ที่เชื่อว่าจะทำให้ผู้สูบ
สูบน้อยลง และมีเพียงร้อยละ 1.7 เท่านั้นที่ระบุว่าจะเลิกสูบไปเลย ขณะที่ร้อยละ 73.9 เชื่อว่ายังสูบเหมือนเดิม
 
                  ส่วนความคิดเห็นต่อนโยบายต่างๆ ของภาครัฐไม่ว่าจะเป็นการห้ามประชาสัมพันธ์บุหรี่ผ่านสื่อต่างๆ/การห้าม
ขายบุหรี่ให้แก่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี/หรือแม้กระทั่งการห้ามแสดงผลิตภัณฑ์บุหรี่ที่จุดขายโดยให้ใช้คำว่า “ที่นี่มีบุหรี่ขาย”
แทน เพื่อลดจำนวนผู้สูบใหม่นั้นก็พบว่า มีกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 32.5 เท่านั้นที่เชื่อว่าสามารถช่วยลดจำนวนผู้สูบใหม่
ได้ มีเพียงร้อยละ 67.5 ที่เชื่อว่าไม่สามารถช่วยได้
 
                 รายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. ความคิดเห็นของผู้ที่สูบบุหรี่ว่าเคยคิดที่จะเลิกสูบบุหรี่หรือไม่ (ถามเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่) พบว่า

 
ร้อยละ
เคยคิดจะเลิกสูบ
( โดยระบุว่า )
  • คิดจะเลิกสูบเพื่อตัวเอง
ร้อยละ 53.8
  • คิดจะเลิกสูบเพื่อครอบครัวและคนที่รัก
ร้อยละ 31.5


85.3
ไม่เคยคิดจะเลิกสูบ
14.7
 
 
             2. สาเหตุที่ปัจจุบันยังไม่เลิกสูบบุหรี่มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ (ถามเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่)
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
ยังทำใจเลิกสูบบุหรี่ไม่ได้ ใจไม่แข็งพอ
30.3
เป็นเพราะความเครียดกับเรื่องต่างๆ
17.0
เป็นความเคยชิน
7.1
ค่อยๆ ลดปริมาณการสูบอยู่
6.4
ติดแล้ว เลิกยาก สูบมานานแล้ว
6.0
 
 
             3. เมื่อถามว่าเวลาสูบบุหรี่ เคยคำนึงถึงคนรอบข้างที่ไม่ใช่คนในครอบครัวหรือคนที่รักบ้างหรือไม่
                 พบว่า (ถามเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่)

 
ร้อยละ
คำนึงถึงและจะไม่สูบในที่ๆ มีคนอยู่
85.2
คำนึงถึงแต่เชื่อว่าเขาจะไม่ว่าและเดินหนีออกไปเอง
6.3
ไม่คำนึงถึงถ้าเขาไม่ชอบก็ควรเดินหนีไปเอง
8.5
 
 
             4. เมื่อถามเฉพาะผู้ที่มีคนในครอบครัวหรือมีคนที่รักสูบบุหรี่ว่าเคยบอกให้คนในครอบครัวเลิกสูบ
                 บุหรี่หรือไม่ พบว่า

 
ร้อยละ
เคยบอก
( โดยระบุว่า )
  • ต้องการให้เลิกสูบเพื่อครอบครัวและคนที่รัก
ร้อยละ 53.3
  • ต้องการให้เลิกสูบบุหรี่เพื่อตัวเอง
ร้อยละ 29.7
83.0
ไม่เคยบอก
( โดยให้เหตุผลว่า บอกไปแล้วก็ไม่ยอมเชื่อ มันเป็นเรื่องส่วนตัว
  ไม่กล้าบอก โตแล้วคิดเองได้ ฯลฯ )
17.0
 
 
             5. วิธีที่ปฏิบัติเมื่อต้องอยู่ใกล้ๆ คนที่กำลังสูบบุหรี่มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
เดินหนีไปเอง
60.2
พยายามอยู่ห่างๆ
9.4
เอาผ้าปิดจมูก กลั้นหายใจ
9.2
บอกเหม็นไม่ชอบ ให้ไปสูบไกลๆ
6.3
เฉยๆ ไว้
5.5
 
 
             6. ความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้สูบบุหรี่ จากนโยบายต่างๆ ของภาครัฐพบว่า

 
เพิ่มขึ้น
(ร้อยละ)
เหมือนเดิม
(ร้อยละ)
ลดลง
(ร้อยละ)
เลิกสูบเลย
(ร้อยละ)
การใช้ภาพคำเตือนหน้าซอง
รณรงค์ประชาสัมพันธ์ จะทำให้
ผู้สูบ สูบบุหรี่…
4.3
77.1
17.2
1.4
ข้อความรณรงค์โฆษณา จาก
ดารานักร้องให้ “ลด ละ เลิก”
สูบบุหรี่ จะทำให้ผู้สูบ สูบบุหรี่…
4.1
73.2
21.8
0.9
การขึ้นภาษีบุหรี่ ทำให้ราคา
บุหรี่เพิ่มสูงขึ้น จะทำให้ผู้สูบ
สูบบุหรี่…
7.3
71.4
18.7
2.6
เฉลี่ยรวม
5.2
73.9
19.2
1.7
 
 
             7. ความคิดเห็นต่อนโยบายต่างๆ ของภาครัฐที่มีผลต่อการช่วยลดผู้สูบใหม่ได้หรือไม่ พบว่า

 
ช่วยลดได้
(ร้อยละ)
ช่วยลดไม่ได้
(ร้อยละ)
การห้ามประชาสัมพันธ์บุหรี่ ผ่านสื่อต่างๆ
36.9
63.1
การห้ามขายบุหรี่ให้แก่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี
35.2
64.8
การห้ามแสดงผลิตภัณฑ์บุหรี่ที่จุดขายโดยให้ใช้
คำว่า “ที่นี่มีบุหรี่ขาย” แทน
25.4
74.6
เฉลี่ยรวม
32.5
67.5
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่และผู้ที่มีคนในครอบครัวหรือคนที่รักสูบบุหรี่ ทั้งที่
อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เกี่ยวกับทัศนะคติในการเลิกสูบบุหรี่ การปฏิบัติตนเมื่อต้องอยู่ใกล้ผู้ที่สูบบุหรี่
รวมถึงนโยบายต่างๆ ของรัฐที่ส่งผลต่อการลดจำนวนผู้ที่สูบบุหรี่และลดจำนวนผู้สูบใหม่ ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็น
ของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่และผู้ที่มีคนในครอบครัวหรือคนที่รักสูบบุหรี่ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage
Sampling) โดยสุ่มจากเขตการปกครองทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ เขตคลองเตย คลองสามวา ดินแดง ดุสิต
ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา ทุ่งครุ บางกอกน้อย บางกะปิ บางเขน บางคอแหลม บางซื่อ บางบอน บางพลัด บางรัก ประเวศ
ป้อมปราบฯ พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราษฎร์บูรณะ สวนหลวง สะพานสูง สาทร ปทุมธานี และนนทบุรี จากนั้นจึง
สุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,076 คน เป็นเพศชายร้อยละ 60.2
และเพศหญิงร้อยละ 39.8
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็น
ข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้อง
สมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  25 - 27 พฤษภาคม 2555
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 30 พฤษภาคม 2555
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
648
60.2
             หญิง
428
39.8
รวม
1,076
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
321
29.8
             26 – 35 ปี
279
25.9
             36 – 45 ปี
242
22.5
             46 ปีขึ้นไป
234
21.7
รวม
1,076
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
822
76.3
             ปริญญาตรี
239
22.3
             สูงกว่าปริญญาตรี
15
1.4
รวม
1,076
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสากิจ
105
9.8
             พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
252
23.4
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
291
27.0
             รับจ้างทั่วไป
206
19.1
             พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ
78
7.2
             นักศึกษา
101
9.4
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
43
4.0
รวม
1,076
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776